ขนาดของงานที่นิยมนำมาจัดวางข้อมูล เช่น
• A3 (29.2 x 42.0 cm) มักนิยมใช้กับงานโปสเตอร์ แคตตาล็อกห้างสรรพสินค้า แผนที่
• A4 (21.0 x 29.2 cm) นิตยสาร-วารสาร แคตตาล็อกสินค้า หนังสือปรับวิทยฐานะ วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการสัมมนา
• A5 (14.5 x 21.0 cm) พ็อคเก็ตบุ๊ค แคตตาล็อกสินค้า คู่มือการใช้งานสินค้า วรรณกรรมแปล คู่มือฝึกอบรม
• B5 (18.2 x 25.7 cm) ตำราเรียนต่างประเทศ (textbook) รายงานการวิจัย
• 7" x 10" (17.7 x 25.4 cm) ไดอารี่ หนังสือวิชาการ
รูปแบบและขนาดของแบบอักษร (font) ก็มีผลต่อความสวยงามและเนื้อหาของงาน font ที่ต่างกันจะช่วยให้อารมณ์ของงานดูแตกต่างกัน เช่น font ที่มีหัวจะดูเป็นทางการกว่า font ที่ไม่มีหัว หรือ font ที่หนา (bold) ให้ความรู้สึกหนักแน่น ส่วน font เอียง (italic) จะให้ความรู้สึกที่พริ้วไหว อ่อนโยน เป็นต้น ควรปรึกษารูปแบบของตัวอักษรที่ใช้ในการทำงานกันตั้งแต่การออกแบบจัดรูปเล่มครั้งแรก เนื่องจากแต่ละโปรแกรมรองรับอักษรคนละนามสกุล (Font type) ซึ่งบาง Font จะไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้และไม่สามารถนำมาผลิตงานพิมพ์ได้
ต้นฉบับรูปภาพควรมีความคมชัดและมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi ที่ขนาดพิมพ์จริง เซฟไฟล์เป็นนามสกุล tif หรือ psd ถ้านามสกุลไฟล์เป็น jpg ไม่ควรบีบอัดคุณภาพน้อยกว่าระดับ 9
ในปัจจุบันการทำอาร์ทเวิร์คสิ่งพิมพ์ จัดหน้าแผ่นพับ หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) นิยมใช้โปรแกรมเฉพาะทาง เช่น Adobe Indesign, Adobe PageMaker เนื่องจากมีคำสั่งช่วยให้การจัดหน้าสะดวกมากกว่าการใช้โปรแกรมจัดการเอกสาร เช่น Microsoft Word อีกทั้งการใช้ Indesign หรือ PageMaker สามารถตั้ง graphic style และ format style ของหนังสือได้สวยงามและสามารถวางเลย์เอาท์ตัวอักษรกับภาพร่วมกันได้หลายเทคนิค ทำให้ได้งานที่สวยงามตรงตามความต้องการยิ่งขึ้น
จัดหน้าแนวอาร์ต
เป็นสไตล์การจัดหน้าที่เน้นสีสัน เน้นความลงตัวของน้ำหนักในองค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งรูปภาพและข้อความ โดยที่มีการใช้ space เพื่อให้เกิดความสวยงามเหมาะสม เน้นนอกกรอบ
แนวทางการ
มีรูปแบบ (Format) ที่แน่นอน ชัดเจน ห้ามนอกกรอบ เน้นเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ ข้อมูล และภาษา ส่วนมากใช้ตัวอักษรแบบมีหัว ตัวใหญ่ เพื่อความชัดเจน และง่ายต่อการอ่าน
แนวหนังสือเด็ก
มีเนื้อหาน้อย ในหนึ่งย่อหน้า (Paragraph) จะมีข้อความไม่มาก ส่วนใหญ่เน้นที่ภาพประกอบและสีสัน ตัวอักษรจะเน้นตัวโต ชัดเจน น่ารัก ง่ายต่อการอ่าน เช่น หนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน เป็นต้น
แนวโมเดิร์น
เน้นเส้นและลวดลายของกราฟิก (Graphic) โทนสีที่ใช้จะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับช่วงเวลานั้นๆ ว่าสีใดเป็นที่นิยม โดยส่วนใหญ่จะใช้สีเงิน สีเทา สีดำ หรือสีพาสเทล (Pastel) ซึ่งเป็นสีโทนอ่อน หวานๆ เย็นๆ
แนวเรียบๆ
ส่วนใหญ่มีเนื้อหาไม่มากนัก ข้อมูลที่ต้องการสื่อมีความชัดเจน เน้นการจัดองค์ประกอบให้ลงตัวเป็นหลัก มีการคำนึงถึงพื้นที่ว่าง (Space) และน้ำหนักขององค์ประกอบ สีส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นโทนสีอ่อนหรือสีพาสเทล แนวคิด (Concept) ของแนวนี้ คือ "เรียบ หรู ดูดี สบายตา"
• ภาพต้นฉบับที่นำมาใช้ในงาน ควรแปลงด้วยโปรแกรมสำหรับจัดการภาพ เช่น Adobe Photoshop ก่อนนำมาใช้จัดหน้า เพื่อช่วยจัดการสีของภาพสำหรับงานพิมพ์ และควรมีความคมชัดหรือรายละเอียดที่เพียงพอสำหรับการผลิตงานพิมพ์
• กราฟที่ลูกค้าทำมาจาก Microsoft Excel ควรนำมาตรวจสอบขนาดเส้นก่อน เนื่องจากอาจมีเส้นที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่ไม่สามารถนำมาผลิตเป็นงานพิมพ์ได้
• ต้นฉบับที่ทำมาจากโปรแกรม Autocad เมื่อนำมาใช้จัดไฟล์หนังสือวางเลย์เอาท์ ด้วยโปรแกรม Indesign หรือ PageMaker เส้นกราฟิกจะแตกเป็นส่วนๆ ไม่ต่อกันทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนสีภายในรูปได้และเส้นอาจบางเกินไป ควรแก้ไขก่อนนำมาใช้กับงานสิ่งพิมพ์
• ในการผลิตงานพิมพ์เพื่อเข้าเล่มด้วยวิธีเย็บ Max ไสกาว ต้องจัดหน้ายกให้เหมาะสมกับขั้นตอนการผลิตหน้าหนังสือ ควรปรึกษากับโรงพิมพ์หรือผู้ที่จัดรูปเล่ม Artwork หลักการโดยรวมที่ใช้ได้ทั่วไปคือ จำนวนหน้ายก ควรมีจำนวนหน้าที่หาร 8 ลงตัวไม่เหลือเศษ